สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 2-8 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย    4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,783 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,768 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,258 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,812 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.64
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,910 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,400 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,995 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,688 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 307 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.0812 บาท
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย    
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2567 มีปริมาณ 8.35 ล้านตัน มูลค่า 191,031 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 และร้อยละ 39.81 ตามลำดับ โดยชนิดข้าวที่ส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวขาว ปริมาณ 5.18 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.04 ของปริมาณการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย ร้อยละ 16.40 ข้าวนึ่ง ร้อยละ 12.10 ข้าวหอมไทย ร้อยละ 6.47 ข้าวเหนียว ร้อยละ 2.75 และข้าวกล้อง ร้อยละ 0.24 สำหรับการส่งออกข้าวทั้งปี 2567 กรมการค้าต่างประเทศและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดว่า ไทยจะสามารถส่งออกได้สูงถึง 9 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 230,000 ล้านบาท
โดยราคาข้าวในช่วง 10 เดือน (มกราคม - ตุลาคม) เฉลี่ยดังนี้
ชนิดข้าว ราคา
FOB 1/
เพิ่มขึ้นร้อยละ ราคา
ข้าวเปลือก 2/
เพิ่มขึ้นร้อยละ
ข้าวหอมมะลิ (ข้าวใหม่)               (us/ตัน) 935 7.59    
(บาท/ตัน) 31,866   15,547 7.85
ข้าวหอมปทุมธานี (ข้าวหอมไทย)    (us/ตัน) 875 24.64    
(บาท/ตัน) 29,821   14,928 29.16
ข้าวขาว                                  (us/ตัน) 603 11.67 11,686 9.87
(บาท/ตัน) 20,551  
ข้าวนึ่ง                                   (us/ตัน) 601 10.89
(บาท/ตัน) 20,483  
ข้าวเหนียว                               (us/ตัน) 818 0.62    
(บาท/ตัน) 27,878   13,661 6.70
ที่มา TNN Thailand
หมายเหตุ : 1/สภาหอการค้าแห่งประเทศ   2/กรมการค้าภายใน
                อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.0812 บาท
2) เกาหลีใต้
ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลี (Statistics Korea) ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 รายงานว่า
ในปี 2567 เกาหลีใต้มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 698,000 เฮกตาร์ (4.36 ล้านไร่) ลดลงจาก 708,000 เฮกตาร์ (4.43 ล้านไร่)
ในปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 15 สำหรับผลผลิตข้าว มีประมาณ 3.585 ล้านตัน ลดลงจาก 118,000 ตัน ในปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 3.2 โดยผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก 1,000 ตารางเมตร (10a) ปี 2567 มี 514 กิโลกรัม ลดลงจาก 523 กิโลกรัม ในปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 1.72 ซึ่งหากจำแนกตามภูมิภาค จังหวัดชอลลาเหนือ (Jeollanamdo) มีผลผลิตข้าวสูงสุด 709,000 ตัน รองลงมาคือ ชุงชองใต้ (Chungcheonbukdo) 706,000 ตัน และชอลลาใต้(Jeollabukdo) 545,000 ตัน ทั้งนี้ การลดลงของผลผลิตข้าวเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง
 ฝนตกหนัก อุณหภูมิสูงในช่วงที่เมล็ดข้าวเริ่มสุก โรคและแมลงศัตรูพืช เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติยังระบุว่า การบริโภคข้าวในเกาหลีใต้ลดลง โดยการบริโภคข้าวต่อหัว
ในปี 2536 อยู่ที่ 110.2 กิโลกรัมต่อคน ลดลงเหลือ 56.4 กิโลกรัมต่อคน ในปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 48.82  
ซึ่งลดลงถึงครึ่งหนึ่งในรอบ 30 ปี ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่เร่งรีบ และต้องการความรวดเร็ว ประกอบกับมีอาหารให้เลือกหลากหลายขึ้น ทำให้ผู้บริโภครับประทานข้าวเป็นมื้ออาหารหลักน้อยลง และหันไปรับประทานขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารว่างอื่นๆ แทน หรือเลือกที่จะซื้อข้าวสารในปริมาณน้อยลง โดยข้าวสารขนาด 5 – 10 กิโลกรัม ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นกว่าสมัยก่อน แม้การบริโภคข้าวในเกาหลีใต้จะลดลง แต่ข้าวยังคงเป็น
อาหารหลักของคนเกาหลี และเป็นหนึ่งในสินค้าที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดสินค้าและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มบริโภคข้าวแปรรูปมากขึ้น เช่น ขนมปังที่ทำจากแป้งข้าว ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่แพ้แป้งสาลี หรือผู้บริโภคสายรักสุขภาพต้องการบริโภคขนมปังที่ปราศจากกลูเตน ทำให้เกษตรกรเกาหลีเริ่มหันมาปลูกข้าวที่ใช้สำหรับทำแป้งข้าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ผลผลิตข้าว
ในเกาหลีใต้จะลดลงจากปีก่อนหน้า แต่หากพิจารณาจากแนวโน้มอัตราการบริโภคข้าวเฉลี่ยต่อหัวที่ลดลงมากกว่าอัตราการลดลงของผลผลิตแล้ว ผลผลิตที่ได้ยังคงมากกว่าความต้องการบริโภค รัฐบาลจึงต้องรับภาระในการรับซื้ออุปทานข้าวส่วนเกินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ: 1 เฮกตาร์ เท่ากับ 6.25 ไร่

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.26 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,105.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,847.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 258.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 434.00 เซนต์ (5,895.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 421.00 เซนต์ (5,748.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 147.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์  ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.22 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.34
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.58 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 203.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,990 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 206.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,130 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 457.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,730 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 457.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,840 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.34 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 42.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.79
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,308.88 ริงกิตมาเลเซีย (41.55 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,000.54 ริงกิตมาเลเซีย (39.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.17
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
        - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) มีมติเห็นชอบ 1) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ผ่านกลไกการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ใบและยอดอ้อย โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอของบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 7,000 ล้านบาท เพื่อให้การสนับสนุนและดูแลเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดี โดยชาวไร่อ้อยจะมีรายได้เพิ่มประมาณ 120 บาทต่อตันอ้อย และ 2) มาตรการป้องปรามการลักลอบเผาอ้อย โดยกำหนดให้หักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยถูกลักลอบเผาในแต่ละวันเป็นรายโรงงาน จากเดิมที่ถูกหัก 30 บาทต่อตันอ้อย เป็น 30 - 130 บาทต่อตันอ้อย รวมถึงเห็นชอบในแนวทางการยกระดับผลผลิตในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายผ่านการกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานน้ำตาลให้ได้ปริมาณน้ำตาลตามมาตรฐานที่กำหนด และโรงงานน้ำตาลสามารถปฏิเสธการรับอ้อยที่มีสิ่งปนเปื้อน อ้อยยอดยาว อ้อยที่มีกาบใบ และอ้อยที่ถูกเผาได้ (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย)
          - นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กอน.  มีมติเห็นชอบกำหนดวันเปิดหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย ฤดูการผลิตปี 2567/68 แบ่งเป็นรายภาค ดังนี้
1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เริ่มการหีบอ้อย วันที่ 6 ธันวาคม 2567
2) ภาคเหนือและภาคกลาง (ยกเว้น 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์) เริ่มการหีบอ้อย วันที่ 15 ธันวาคม 2567
3) จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เริ่มการหีบอ้อย วันที่ 2 มกราคม 2568
ซึ่ง สอน. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ชาวไร่อ้อยเตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อยในฤดูการผลิต ปี 2567/68 ทั้งนี้ คาดการณ์ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 93.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.40 (ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - The United Sugar Producers Federation (Unifed) ของฟิลิปปินส์ เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการซื้อขายน้ำตาล และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ทดแทนบทบาทของพ่อค้าคนกลางในโซ่อุปทาน
โดย Manuel Lamata ประธานของ Unifed เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแทรกแซงจากกระทรวงเกษตร (Department of Agriculture: DA) และสำนักงานกำกับดูแลน้ำตาล (Sugar Regulatory Administration: SRA) เพื่อรักษาราคาน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลและให้เกิดความเสียหายต่อระบบน้อยที่สุด โดยเฉพาะปัญหาความบริสุทธิ์ของน้ำตาลที่ลดลงจากภัยแล้ง และได้แสดงความกังวลต่อความเปราะบางของเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ซึ่งอาจได้รับผลกระทบมากจากราคาน้ำตาลที่ผันผวน (ที่มา: Chinimandi.com)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 989.52 เซนต์ (12.45 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นขึ้นจากบุชเชลละ 986.75 เซนต์ (12.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 285.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.79 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 289.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.42
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.87 เซนต์ (31.61 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 41.54 เซนต์ (31.77 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.75 เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.95
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1026.50 ดอลลาร์สหรัฐ (34.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1021.40 ดอลลาร์สหรัฐ (34.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 849.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 816.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,498.75 ดอลลาร์สหรัฐ (51.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,491.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 967.75 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 963.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1050.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.80 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 898.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.93 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 5.04 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.72 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.23 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,203 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,197 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.41 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.43 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ลดลงจากตัวละ 2,200 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.74 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 363 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 366 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 358 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 417  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 432 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 462 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.64 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.64 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน


 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 2 – 8 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.83 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.15 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.27 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.00 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.90 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่  
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา